มูลนิธิพิริยะ ไกรฤกษ์

ประวัติศาสตร์ศิลปะ - ความคิดใหม่ ความรู้ใหม่

เพชรในเพชรบุรี

ผู้แต่ง
พิชญา สุ่มจินดา
นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว
ISBN
978-616-9151-37-1
จำนวนหน้า
100 หน้า

ความสำคัญของเพชรบุรีในฐานะเป็นเมืองชุมทางและจุดเปลี่ยนระหว่างการเดินทางบกและทางน้ำจากกรุงศรีอยุธยาสู่เมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันตกและอ่าวไทยโดยเฉพาะช่วงหลังรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) จึงทำให้พุทธศิลป์ที่ปรากฏอยู่ตามวัดสำคัญต่าง ๆ ในปัจจุบัน ล้วนเป็นศิลปะที่มีอายุเวลาในสมัยอยุธยาตอนปลาย “ศิลปะสกุลช่างเมืองเพชร” ไม่ว่าจะเป็นงานสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรมปูนปั้น ประดับอาคาร ล้วนแล้วแต่เป็นงานที่มีแบบฉบับเป็นของตนเองตามศิลปะไทยประเพณีแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นแนวคิด การออกแบบลวดลาย และเทคนิคการสร้าง จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๓-๔ ช่างเมืองเพชรคนสำคัญ “ขรัวอินโขง่” ได้นำเทคนิคการวาดภาพแบบตะวันตกมาใช้ในงานจิตรกรรมไทย จึงทำให้ช่างสกุลเมืองเพชรรุ่นต่อ ๆ มา ได้นำแนวคิดในการสร้างงานทัศนวิสัยแบบ ๓ มิติมาผสมผสาน จนทำให้การสร้างงานศิลปะมีแนวคิดและรูปแบบที่หลากหลาย และกว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งด้านประติมากรรมปูนปั้น จิตรกรรม งานแกะสลัก และงานประดับเมรุ เป็นต้น ทำให้เกิดกลุ่มช่างต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มช่างวัดใหญ่สุวรรณาราม กลุ่มช่างวัดเกาะ กลุ่มช่างวัดยาง และกลุ่มช่างวัดพระทรง ซึ่งมีผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ของตน แต่ยังคงลักษณะร่วมของความเป็นศิลปะสกุลช่างเมืองเพชรไว้อย่างชัดเจน

ราคา 140.- บาท


ขอข้อมูลเพิ่มเติม และสั่งซื้อได้ที่ +662 011 0269
อีเมล์ piriyafoundation@gmail.com
Line Official: @piriyafoundation

Contact Piriya Krairiksh Foundation

Address

30/7 Soi Ruamrudee
Ploenchit Road, Lumpini, Pathumwan
Bangkok 10330 Thailand
Copyright © 2022 Piriya Krairiksh Foundation. All Rights Reserved