ชุมชนจีนในประเทศไทยมีพัฒนาการคลี่คลายสัมพันธ์กับการอพยพเคลื่อนย้ายของชาวจีน ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นในสังคมไทย ด้วยกระบวนการผสมกลมกลืนทางสังคมวัฒนธรรม ระหว่างความเป็นจีนกับความเป็นพื้นเมืองสยาม โดยผ่านการแต่งงาน การเข้าสู่ระบบราชการ การนับถือศาสนา รวมถึงค่านิยมและความเชื่อต่าง ๆ สร้างเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์จีนในยุคสังคมสยามก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 21
ศิลปะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์วัฒนธรรมชุมชนจึงสะท้อนภาพลักษณ์ไทย-สยามไว้ด้วยเช่นกัน เห็นได้จากศิลปะในชีวิตความเป็นอยู่และศิลปะสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็นอาหาร
การกิน การแต่งกาย อาคารที่อยู่อาศัย เป็นต้น ทั้งนี้กระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะจีนสยามนั้น ได้ทิ้งร่องรอย รูปแบบ และลวดลายที่เป็นการผสานกลมกลืนกันระหว่างความเป็น จีน และ สยาม ผ่านงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรมและมัณฑนศิลป์