เมืองโบราณ, ๒๕: ๒ (เมษายน – มิถุนายน) ๒๕๔๒, หน้า ๑๐-๓๖.
งานเขียนชิ้นนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดหมวดหมู่ของพุทธศิลป์ไทยให้อยู่บนพื้นฐานของระบบวิธีวิจัยที่ถูกต้องและสอดคล้องกับรากฐานทางศาสนาและวัฒนธรรมของไทยโดยผู้เขียนเปลี่ยนแปลงแนวคิดเรื่องการกำหนดอายุเวลารูปแบบของศิลปะจากที่เคยแบ่งตามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์การเมือง เช่น ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรีเชียงแสน และสุโขทัยมาเป็นการกำหนดตามการเปลี่ยนแปลงทางประติมานิรมาณวิทยาหรือความเชื่อและประเพณีทางศาสนาอันได้แก่
๑) ลัทธิหีนยาน นิกายมหาสังฆิกะและมูลสรรวาสติวาท
๒) ลัทธิมหายาน
๓) ลัทธิหีนยาน นิกายเถรวาท
๔) ลัทธิวัชรยาน
๕) นิกายเถรวาท จากลังกา
๖) นิกายสยามวงศ์
๗) ธรรมยุติกนิกาย
ซึ่งการกำหนดอายุเวลาโบราณวัตถุสถานของไทยที่แตกต่างไปจากเดิมนี้ ก่อให้เกิดมิติใหม่ในการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะที่มิได้ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างภาพลักษณ์ให้กับประวัติศาสตร์อย่างที่เคยเป็นมา อันเป็นการขวางกั้นความก้าวหน้าของการค้นคว้าทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและประวัติศาสตร์ศาสนาในประเทศไทย